วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีการปลูกสับปะรด


1. การผลิตสับปะรดที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างและปลอดศัตรูพืช


เน้นให้เกษตรกรมีความรู้และมีทักษะจะสามารถผลิตสับปะรดที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ค้าและผู้บริโภค โดย



1.1 ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสับปะรด โดยใช้ศัตรูธรรมชาติ
- ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูสับปะรดที่สำคัญ และพบทั่วไปในไร่สับปะรดมีเพียงชนิดเดียว คือ ด้วงเต่า ตัวเต็มวัยมีขนาดยาว 4.0 – 4.5 มิลลิเมตร ลำตัวด้านบนนูนโค้งสีดำ ด้านล่างแบนราบคล้ายเพลี้ยแป้ง ตัวหนอนและตัวเต็มวัยของด้วงเต่าเป็นตัวห้ำ กัดกินเพลี้ยแป้งแมลงศัตรูสำคัญของสับปะรด ดังนั้น การป้องกันกำจัดศัตรูสับปะรด ควรใช้วิธีการที่ปลอดภัยตามคำแนะนำ เพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ดังกล่าว



1.2 ป้องกันการตกค้างของไนเตรทในผลสับปะรด โดยดำเนินการดังนี้
- ให้ปุ๋ยและให้น้ำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ห้ามใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังการบังคับดอกแล้ว
- ห้ามทำลายจุกสับปะรด
- ในแหล่งที่เคยพบปริมาณไนเตรทตกค้างสูงในผลสับปะรด ควรเก็บตัวอย่างใบในระยะบังคับดอก วิเคราะห์ปริมาณธาตุโมลิบดินัม ถ้าพบความเข้าข้นของธาตุต่ำกว่า 1 ส่วนในล้านส่วน ให้พ่นใบสับปะรดด้วยธาตุโมลิบดินัม อัตรา 5 มิลลิกรัมต่อต้นในระยะดอกแดง หรือ โพแทสเซียมคลอไรด์ อัตรา 8 กรัมต่อต้น หลังการบังคับดอกแล้ว 75 วัน



1.3 ต้องใช้สารเคมีที่ถูกต้องตามกฎหมายมีเลขทะเบียนวัตถุอันตราย และไม่ใช้สารเคมีที่ห้ามใช้ หรือยกเลิกการใช้ทางการเกษตร ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535



1.4 ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องเหมาะสม
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสม มีข้อแนะนำควรปฏิบัติ ดังนี้



• ตรวจซ่อมอุปกรณ์เครื่องพ่นอย่าให้มีรอยรั่ว เพื่อป้องกันสารพิษปนเปื้อนเสื้อผ้า และร่างกายของผู้พ่น
• ต้องสวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากาก หรือผ้าปิดจมูกถุงมือ หมวก และรองเท้า เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษ
• อ่านฉลากคำแนะนำ คุณสมบัติ และการใช้ของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
• ควรพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น ขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และขณะปฏิบัติ ผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
• เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำหรับใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
• ปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิทเมื่อเลิกใช้ เก็บไว้ในที่มิดชิดห่างจากสถานที่ปรุงอาหาร แหล่งน้ำ และต้องปิดกุญแจโรงเก็บทุกครั้ง
• ภายหลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูทุกครั้งผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสารต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง
• ไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้จะสลายตัวถึงระดับปลอดภัย โดยดูจากตารางคำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือฉลากที่ภาชนะบรรจุ
• เมื่อใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหมดแล้ว ให้ล้างขวดบรรจุสารด้วยน้ำ 2 – 3 ครั้ง เทน้ำลงในถังพ่นสาร ปรับปริมาตรน้ำตามความต้องการก่อนนำไปใช้พ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำหรับภาชนะบรรจุสารที่ใช้หมดแล้ว คือ ขวด กล่องกระดาษ และถุงพลาสติก ให้ทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาไฟ และห้ามนำกลับมาใช้อีก



1.5 จดบันทึกการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้มีการตรวจสอบได้ หากเกิดข้อบกพร่องขึ้น สามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที ได้แก่
• สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณฝน
• พันธุ์สับปะรด วันที่ปลูก ขนาดของหน่อ หรือจุกที่ใช้ปลูก อัตราการปลูก
• วันที่ให้ปุ๋ย ให้น้ำ
• การระบาดของศัตรูพืช ชนิดและปริมาณ
• วันที่พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ชนิด อัตราและวิธีการใช้ แหล่งที่มาของสารเคมี
• วันที่สับปะรดออกดอก และเก็บเกี่ยวผลผลิต
• ปริมาณไนเตรท การเกิดผลแกน จำนวนผลแกน
• ค่าใช้จ่าย ปริมาณและคุณภาพผลผลิต และรายได้
• ปัญหาและอุปสรรคอื่นๆ ตลอดฤดูปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง



ที่มา : http://www.ecitepage.com/viewtopic.php?f=18&t=65055

ประโยชน์ของสับปะรด

ประโยชน์ของสับปะรด
  1. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง
  2.  ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ 
  3. ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  4.  ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและความแก่ชรา เป็นผลไม้ที่เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกสบายท้องไม่รู้สึกอึดอัดดื่มน้ำสับปะรดปั่นกันดีกว่า 
  5. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงสับปะรด เป็นต้น
  6.  นำมาใช้แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง 
  7. ทำเป็นสับปะรดกวนก็ได้ การแปรรูปสับปะรดอื่นๆ เช่น การทําไวน์สับปะรด แยมสับปะรด เป็นต้น 
  8. ช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง 
  9. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัดได้ 
  10. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีมากขึ้น
  11. ช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง 
  12. ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหงือก 
  13. สับปะรด สรรพคุณ ช่วยบรรเทาอาการร้อนกระสับกระส่าย หิวน้ำ ช่วยแก้อาการท้องผูก ขับถ่ายไม่สะดวก 
  14. ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีน 
  15. ช่วยลดเสมหะในลำคอได้ 
  16. ช่วยในการขับปัสสาวะ 
  17. ปัสสาวะไม่ออก 
  18. ช่วยรักษาโรคนิ่ว 
  19. ช่วยรักษาโรคไตอักเสบ 
  20. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง 
  21. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ 
  22. ช่วยบรรเทาอาการของโรคบิด 
  23. เชื่อว่าช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) 
  24. ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ 
  25. พายสับปะรด Pineapple Pie ช่วยรักษาอาการแผลเป็นหนอง 
  26. ช่วยแก้ปัญหาส้นเท้าแตก 
  27. ช่วยลดการอักเสบจากบาดแผล 
  28. เป็นยารักษาโรคผิวหนัง 
  29. ใบสด นำมาใช้เป็นยาถ่าย หรือยาฆ่าพยาธิ ได้ 
  30. ผลดิบสามารถนำมาใช้ห้ามเลือดได้ 
  31. ผลดิบสับปะรด ช่วยขับประจําเดือน 
  32. ส่วนของรากสับปะรด นำมาใช้เป็นยาแก้กระษัย บำรุงไตได้ 


ที่มา : http://frynn.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%94/

สายพันธุ์สับปะรด

สายพันธุ์สับปะรดในประเทศไทย

 "พันธุ์สับปะรดของประเทศไทย"  สายพันธุ์สับปะรดที่มีอยู่ 7 สายพันธุ์

  1. พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา
  2. พันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง
  3. พันธุ์ขาว
  4. พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี
  5. พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง
  6. พันธุ์ตราดสีทอง
  7. พันธุ์ภูแล
สับปะรด (Ananas comosus) เป็นไม้ผลเขตร้อน ที่จัดอยู่ในวงศ์ Bromeliaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของทวีปอเมริกาใต้ นักเดินเรือ ชาวสเปนและโปรตุเกส เป็น ผู้นำสับปะรดไปเผยแพร่ยังยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียในราว ศตวรรษที่ 16 และแพร่เข้ามายัง ประเทศไทยราวปีพ.ศ.2213- 2243
ถึงแม้ว่าสับปะรดมิได้ เป็นพืชพื้นเมืองของไทย แต่ก็ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ กระจายได้ดีในประเทศไทย เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกรับประทานผลกันอยู่ เป็นพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ด จึงต้องมีการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของลำต้น (vegetative parts) เช่น หน่อ จุกและตะเกียง แต่เนื่องจากมีการปลูก และขยายพันธุ์กันมานานจนมีลักษณะกลายพันธุ์เดิมไปตามลำดับ บางพันธุ์มีลักษณะคล้ายพันธุ์ป่า คือมีต้นสูงใหญ่ มีหนามมาก และมีผลเล็ก สำหรับสับปะรดพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน จะได้รับการ คัดเลือกจากต้นที่มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ต้นเตี้ย หนามน้อย ผลเป็น รูปทรงกระบอก และมีอายุถึงวันเก็บเกี่ยวสั้น
พันธุ์สับปะรดที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย ได้แก่
 
- พันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) หรือที่เรียกกันทั่วไป ว่า พันธุ์ศรีราชา มีผลใหญ่ที่สุดใน บรรดาสับปะรดด้วยกัน เนื้อมีรสหวานฉ่ำ ใบมีสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นร่องมีสีแดงอมน้ำตาล ปลายใบมีหนามเล็กน้อย เป็นพันธุ์เดียวที่ปลูกเพื่อส่งโรงงานสับปะรดกระป๋อง ปลูกมากในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ระยอง และลำปาง


- พันธุ์อินทรชิต หรืออินทรชิตแดง (Singapore Spanish) เป็นพันธุ์ เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ปลูกมานานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ปัตตาเวีย เล็กน้อย แต่มีหนามแหลมคมรูปโค้งงอ สีน้ำตาลอมแดงที่ขอบใบ ใบมีสีเขียวอ่อน ผลย่อยนูนเด่นชัด ตาลึกเมื่อแก่จัด เนื้อเป็นสีทอง รสไม่หวานจัด ภายในผลมีเส้นใยมากและผลค่อนข้างเล็ก จึง ไม่นิยมปลูกเพื่อบรรจุกระป๋อง ปลูกมากที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา


- พันธุ์ขาว (Selangor Green) เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในอำเภอ บางคล้า มีทรงพุ่มเตี้ย มีใบสีเขียวอมเหลือง ใบสั้นและแคบกว่าอินทรชิต ขอบใบมีหนามแหลม ผลมีหลายจุก แต่เนื้อมีรสชาติและคุณภาพคล้ายคลึง กับพันธุ์อินทรชิตมาก จึงมีผู้สันนิษฐานว่าคงจะกลายพันธุ์มาจากพันธุ์ อินทรชิต

-พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี (Malacca Queen) เป็นพันธุ์ที่มีใบแคบ และยาว ใบสีเขียวอ่อน และมีแถบสีแดงตอนกลางใบ ขอบใบเต็มไปด้วย หนามสีแดง ผลมีขนาดเล็ก ผลย่อยนูน ตาลึก เนื้อมีสีเหลือง รสหวานกรอบ และมีกลิ่นหอม นิยมปลูกกันมากในภาคใต้บริเวณจังหวัดภูเก็ตและชุมพร

- พันธุ์นางแล หรือพันธุ์น้ำผึ้ง มีผู้กล่าวว่าพันธุ์น้ำผึ้งนี้นำมา จากประเทศศรีลังกาบางท่านก็กล่าวว่านำมาจากมณฑลยูนนานของจีนแต่จาก ลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของต้น ใบ ดอก และผล จะคล้ายคลึงกันพันธุ์ปัตตาเวียมาก จึงอาจเป็นพันธุ์ย่อย หรือกลายพันธุ์มาจาก พันธุ์ปัตตาเวีย มีปลูกมากที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย เนื่องจากมีรส หวานจัดเป็นที่นิยมของตลาด จึงปลูกเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว


-พันธุ์ตราดสีทอง สับปะรดตราดสีทอง สับปะรดพันธุ์นี้จะไม่เหมือนพันธุ์อื่นตรงที่มีรสชาติหวาน กรอบทั้งผล โดยเฉพาะผิวเป็นตา ๆ สีเหลือง เย็นฉ่ำน่ารับประทาน


-พันธุ์ภูแล ผล ขนาดเล็ก เนื้อสีทอง กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบ รับประทานได้ รสชาติหวานปานกลาง สับปะรดภูแลเชียงราย หรือในชื่อเรียก สับปะรดภูแล เป็นสัปปะรดสายพันธุ์ในกลุ่มควีน ลูกเล็กและสามารถปลูกได้ตลอดปี
เอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อาศัยอยู่ที่ตำบลนางแล เป็นผู้นำพันธ์มาจากจังหวัดภูเก็ตมาปลูก ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ โดยไม่ได้มีการใช้ยาฆ่าแมลง และใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นคนละพันธ์กับสับปะรดนางแล และสาเหตุที่เชื่อเปลี่ยนชื่อ จากพันธ์ภูเก็ต เป็นพันธ์ภูแล เนื่องจากแม่ค้าคนกลางเห็นว่า ลักษณะลูกมีลักษณะเล็กและคนต่างจังหวัดที่มาเที่ยว ชอบกิน โดยเป็นการผสมชื่อระหว่าง ตำบลนางแล กับ สับปะรดพันธ์ภูเก็ต มิใช่มาจาก พันธ์ภูเก็ต ผสมกับพันธ์นางแล


ส่วนสับปะรดไรม่วงนั้นเป็นพันธุ์ปัตตาเวียครับ สามารถศึกษาจากหน้า ประวัติความเป็นมาของ สับปะรดไร่ม่วง

ข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 
                   http://www.tistr.or.th
                   http://flash-mini.com
                   http://www.xn--l3cjf8d8bveb.com

สับปะรด





สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล
แต่ละท้องถิ่นเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไปเช่น[1]
  • ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรด"
  • ภาคอีสาน เรียกว่า "บักนัด"
  • ภาคเหนือ เรียกว่า "มะนัด, มะขะนัด, บ่อนัด"
  • ภาคใต้ เรียกว่า "ย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง,มะลิ"

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%94